เครื่องปรับอากาศประสิทธิภาพสูง 

Smart Air VM_03

 

คำอธิบายของความเกี่ยวข้องของความชื้นและคนเป็นโรคหืด

สำหรับคนทั่วไป การเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศอาจเป็นเรื่องดี เพราะไม่ทำให้รู้สึกซ้ำซากจำเจ แต่สำหรับผู้ที่เป็นโรคหืดแล้ว การเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะอาจทำให้อาการหอบหืดกำเริบขึ้นมาโดยไม่ทันตั้งตัวได้

 

การเปลี่ยนแปลงของอากาศเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคหืด ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เกิดขึ้นเมื่อหลอดลมมีปฏิกิริยาต่อสารต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมที่มากระตุ้นให้กล้ามเนื้อหลอดลมหดตัว เกิดอาการเกร็ง และบวมจนมีการสร้างเสมหะขึ้นมามากกว่าปกติ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ “จับหืด” คือมีอาการหอบ ไอ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก และมีเสียงวี๊ดๆ เกิดขึ้นในหน้าอกขณะหายใจ ซึ่งเป็นเสียงที่เกิดจากหลอดลมตีบตัน อาการเหล่านี้จะเป็นๆ หายๆ เป็นอาการเรื้อรังที่ต้องรักษาไปเรื่อยๆ และเมื่อมีอะไรมากระตุ้น เช่นฝุ่นละออง เกสรดอกไม้ ขนสัตว์ ควันบุหรี่ และอาหาร หรือเมื่อผู้ป่วยออกกำลังกายมากเกินไป มีเรื่องมากระทบจิตใจ และแน่นอนเมื่ออากาศเปลี่ยนแปลง อาการของโรคหืดก็จะกำเริบขึ้นอย่างฉับพลัน ทำให้ผู้ป่วยต้องรีบพ่นยาขยายหลอดลมชนิดออกฤทธ์สั้นเพื่อบรรเทาอาการอย่างรวดเร็ว

 

แล้วสภาพอากาศแบบใดบ้างล่ะที่จะกระตุ้นให้อาการของโรคหืดกำเริบขึ้น คำตอบก็คือ ทุกสภาพอากาศมีผลกระทบต่อผู้ป่วยโรคหืดด้วยกันทั้งสิ้น แต่ในระดับที่ต่างกันคือ ในช่วงหน้าหนาว ความหนาวเย็นและความแห้งของอากาศจะทำให้ผู้ป่วยโรคหืดมีอาการหอบหืดมากกว่าในหน้าร้อน ซึ่งจะมีความชื้นในอากาศมากกว่า แม้ว่าในหน้าร้อนจะมีฝุ่นละอองและมลภาวะในอากาศสูงกว่าหน้าหนาวก็ตาม แต่จากการสำรวจพบว่า จะมีผู้ป่วยโรคหืดมาหาหมอน้อยกว่าในช่วงที่อากาศหนาวเย็น แต่ก็ไม่แน่เหมือนกัน ถ้าอากาศร้อนและมีความชื้นมากๆ ผู้ป่วยอาจจะรู้สึกว่าอากาศหนัก ทำให้หายใจลำบาก ต้องหายใจถี่ขึ้น จนเหนื่อยหอบหมดแรง นอกจากนั้น อากาศร้อนชื้นยังอาจทำให้เกิดเชื้อราในอากาศ ซึ่งสามารถกระตุ้นให้ผู้ป่วยเกิดอาการหอบหืดได้อีกด้วยเช่นเดียวกัน ในหน้าฝน หรือเวลาที่อากาศเปลี่ยนและมีลมพัดแรงๆ เกสรดอกไม้หรือของพืชพันธุ์นานาชนิดที่มักจะเจริญเติบโตในหน้าฝน และฟุ้งกระจายไปตามลมก็อาจกระตุ้นให้อาการหอบหืดกำเริบขึ้นมาได้ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ความเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ สามารถทำให้อาการหืดกำเริบขึ้นถึงขั้นรุนแรงได้หากไม่มีการป้องกันที่ถูกต้อง

ข้อมูลจาก http://www.asthma.or.th

 

click สำหรับคำอธิบายการประหยัดพลังงานของเครื่องปรับอากาศ

click สำหรับแสดงการควบคุมอุณหภูมิของห้องเปรียบเทียบ

click เพื่อแสดงการติดตั้งกับเครื่องปรับอากาศเก่าและแสดงเครื่องปรับอากาศอินเวอร์เตอร์

Go back